– แก้ไขครั้งที่ 1 – จะไม่อธิบายในรายละเอียดปลีกย่อยของการทำงาน จะเน้นให้ทำตามเป็นตัวอย่างเท่านั้น ทางผู้จัดจะ Update Link ที่เกี่ยวข้องสำหรับบทความนี้เป็นประจำจนกว่าจะสมูบรณ์
- ตัวอย่างการสร้าง Model จะใช้ Odoo เวอร์ชั่นทดลองผ่าน Odoo.com ซึ่ง ในที่นี้คือ Odoo version 16
เมนูที่สำคัญที่จำเป็นต้องใช้ในการสร้าง App มีดังนี้
- เปิด Debug Mode
- Setting — Technical –> Models (ขั้นตอนที่ 1)
- Setting — Technical –> Views (ขั้นตอนที่ 2)
- Setting — Technical –> Windows Action (ขั้นตอนที่ 3)
- Setting — Technical –> Menu Items (ขั้นตอนที่ 4)
เริ่มสร้างกันเลย
ขั้นตอนที่ 1 สร้าง Model
กดที่เมนู Settings
เลือกเมนู Models
กดที่ปุ่ม New
ตั้งชื่อ Model ที่ field Model Description – สามารถตั้งชื่ออะไรก็ได้ ภาษาใดก็ได้
ตั้งชื่อ Model ที่ field Model – ไม่สามารถใช้เว้นวรรค , อักษรพิเศษ , ภาษาอังกฤษเท่านั้น สร้างแล้วไม่สามารถเปลี่ยนชื่อได้ ต้องคิดชื่อให้ดีก่อนตั้งชื่อ
* หากต้องการเว้นวรรคคำ ให้ใช้เครื่องหมาย _ เท่านั้น ห้ามใช้เว้นวรรคหรือขีด –
กำหนดสิทธิ์เข้าถึง Model
ให้ไปที่ Tab –> Access Rights กด Add a line พร้อมใส่ข้อมูล
field : Name – ตั้งชื่ออะไรก็ได้ ภาษาใดก็ได้
field : Group – ให้เลือก User Types / Internal User
field : Read,Write,Create,Delete – ให้ติ๊กถูกให้ครบทุกช่อง
* เป็นสิทธิ์การเข้าถึงด้วย User พื้นฐาน — ยังไม่ได้ทำคู่มือ
** สำคัญ !! หากไม่เซ็ต Access Rights จะไม่สามารถเข้าถึง Model นี้ได้
กดที่ปุ่มก้อนเมฆเป็นการ Save ข้อมูลที่ได้บันทึกไว้
ขั้นตอนที่ 2 สร้าง View
ไปที่เมนู View
ขั้นตอนที่ 2.1 สร้าง Tree View
กรอกข้อมูลที่ Field ดังนี้
field : View Name – ตั้งชื่ออะไรก็ได้ ภาษาใดก็ได้ ในที่นี้ จะตั้งชื่อให้เป็นชื่อ Model และต่อท้ายด้วย ชื่อ View
field : View Type – ให้เลือก Tree
field : Model of the view – ให้เลือก model ที่ได้สร้างไว้ในขั้นตอนที่ 1
*View ที่จำเป็นสำหรับการสร้าง App — ยังไม่ได้สร้าง คู่มือ
ที่ Tab –> Architecture ให้พิมพ์ Code สำหรับการแสดงผล หน้า Tree View ดังนี้
<tree>
<field name="x_name"/>
</tree>
หลังจากนั้นกดที่รูปก้อนเมฆ เป็นการ Save ข้อมูล
ขั้นตอนที่ 2.2 สร้าง Form View
กดที่ปุ่ม New เพื่อสร้าง Form ใหม่
กรอกข้อมูลที่ Field ดังนี้
field : View Name – ตั้งชื่ออะไรก็ได้ ภาษาใดก็ได้ ในที่นี้ จะตั้งชื่อให้เป็นชื่อ Model และต่อท้ายด้วย ชื่อ View
field : View Type – ให้เลือก Form
field : Model of the view – ให้เลือก model ที่ได้สร้างไว้ในขั้นตอนที่ 1
ที่ Tab –> Architecture ให้พิมพ์ Code สำหรับการแสดงผล หน้า Form View ดังนี้
<form>
<sheet>
<group>
<field name="x_name"/>
</group>
</sheet>
</form>
หลังจากนั้นกดที่รูปก้อนเมฆ เป็นการ Save ข้อมูล
ขั้นตอนที่ 2.3 สร้าง Search View
กดที่ปุ่ม New เพื่อสร้าง Form ใหม่
กรอกข้อมูลที่ Field ดังนี้
field : View Name – ตั้งชื่ออะไรก็ได้ ภาษาใดก็ได้ ในที่นี้ จะตั้งชื่อให้เป็นชื่อ Model และต่อท้ายด้วย ชื่อ View
field : View Type – ให้เลือก Search
field : Model of the view – ให้เลือก model ที่ได้สร้างไว้ในขั้นตอนที่ 1
ที่ Tab –> Architecture ให้พิมพ์ Code สำหรับการแสดงผล หน้า Search View ดังนี้
<search>
<field name="x_name"/>
</search>
กดที่ปุ่มก้อนเมฆเป็นการ Save ข้อมูลที่ได้บันทึกไว้
สรุปขั้นตอนการสร้าง View
จะได้ View ทั้งหมด 3 veiw คือ
Search View , Form View , Tree View ดังภาพ
ขั้นตอนที่ 3 สร้าง Window Actions
เข้าไปที่เมนู Window Actions
คลิกที่ New เพื่อสร้าง Window Action
กรอกข้อมูลที่ Field ดังนี้
field : Action Name – ตั้งชื่ออะไรก็ได้ ภาษาใดก็ได้
field : Object – ให้ใส่ชื่อ Model ที่สร้างไว้ในขั้นตอนที่ 1 ซึ่งก็คือ x_sample_learning
field : Search View Ref. – ให้ค้นหาชื่อ View ที่ได้สร้างในขั้นตอนที่ 2
แล้วเลือก Search View ให้ตรงกับที่สร้างไว้
field : View Type – ให้กด Add a line
field : View Type – ให้เลือกเป็น Tree
field : View – ให้ค้นหา View ที่สร้างไว้ในขั้นตอนที่ 2
หลังจากนั้นให้กด Save & New
field : View Type – ให้เลือกเป็น Form
field : View – ให้ค้นหา View ที่สร้างไว้ในขั้นตอนที่ 2
หลังจากนั้นให้กด Save & Close
ผลลัพที่ได้ จะมี View อยู่ใน ตาราง 2 View
หลักจากนั้นให้กดปุ่มก้อนเมฆ เพื่อทำการ Save Window Actions
ขั้นตอนที่ 4 สร้าง Menu Item
ไปที่ Menu Items ตามรูป
คลิกที่ปุ่ม New
field : Menu – ตั้งชื่ออะไรก็ได้ ภาษาใดก็ได้
field : Action – ให้เลือก ir.actions.act_window แล้วให้เลือกค้นหาชื่อ Window Action ที่ได้สร้างไว้ในขั้นตอนที่ 3
หลักจากนั้นให้กดปุ่มก้อนเมฆ เพื่อทำการ Save Menu Items
สิ้นสุดขั้นตอนการสร้าง App หรือ Model ใช้เองอย่างง่าย
หลังจากกด Save ที่ขั้นตอนสุดท้าย ให้ทำการ Refesh Browser 1 ครั้ง (หรือกดที่ F5 )หลังจากนั้น ให้กดที่ปุ่มไอคอน ด้านซ้ายบนของหน้าจอ
เสร็จแล้วสำหรับการสร้าง App อย่างง่าย ใช้งานได้เองเพียงไม่กี่ขั้นตอน
ทดลอง กรอกข้อมูลโดยการ กดที่ New แล้วกรอกข้อมูลใช้งานได้ทันที
บทสรุปสำหรับการสร้าง App หรือ Model มีขั้นตอนที่สำคัญดังนี้
- เปิด Debug Mode
- สร้าง Model
– การสร้าง Model คือการสร้างตารางสำหรับเก็บข้อมูล โดยกำหนดหัวข้อ (Field) ต่างๆ - สร้าง View
– สำหรับเรียกดูข้อมูล หรือค้นหา มีหลักๆด้วยกัน 3 View คือ Tree , Form , Search
– ในการสร้าง View แต่ละแบบ จะต้องอ้างอิงถึง Model ที่สร้างขึ้นให้ตรงกันด้วย - สร้าง Window Actions
– เพื่อเรียกใช้งาน View ทั้งหมดที่เราสร้างขึ้นให้ ผู้ใช้งานสามารถเข้ามาใช้งานได้ - สร้าง Menu
– สร้างเมนู ให้สามารถเรียกเข้าถึง Action ที่ได้สร้างขึ้นในขั้นตอนที่ 4
User สำหรับเข้าไปทดลองใช้งาน
url : odooth-website.odoo.com
user : tester@bestquickbook.com
pass : 123456
จบแล้วสำหรับการสร้าง App อย่างง่าย ด้วยขั้นตอน และเมนูเพียงไม่กี่เมนู ลองฝึกสร้างจากบทความนี้ได้โดยทำตามขั้นตอนทุกขั้นตอน รับรองว่าใช้งานได้จริงแน่นอน
หากท่านใด สงสัยส่วนไหน สามารถ Comment ไว้ที่ใต้ Post ได้เลย